ทริปแรกของปี 2560 ตั้งใจมาเสริมมงคลชีวิตไหว้ “พระธาตุแช่แห้ง” พระธาตุประจำปีเถาะ เพราะว่าปีนี้เป็น "ปีชง" ของลุงเด้งป้าไก่ และลูกชายทั้ง 2 คน เรียกได้ว่าปีชงกันทั้งบ้าน
การเดินทางครั้งนี้ ลุงเด้งป้าไก่ใช้บริการของสายการบินนกแอร์ ขึ้นเครื่องที่ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - น่าน
...
Read more
เที่ยวเมืองน่าน : วัดภูมินทร์
วัดภูมินทร์ เดิมมีชื่อว่า “วัดพรหมมินทร์” ตั้งตามชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2139 หลังจากที่เจ้าเจตบุตรขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปีนี้ ต่อมาชื่อวัดถูกเรียกกันจนเพี้ยนไป จนกลายเป็น “วัดภูมินทร์” ตามที่รู้จักกันในปัจจุบัน
จุดเด่นของวัดนี้คือ "พระอุโบสถจตุรมุข” สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ ที่รวมเอาโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ ไว้ในอาคารเดียวกัน ในลักษณะการจำลองแผนภูมิจักรวาลตามความเชื่อแห่งพุทธศาสนา โดยมีพระประธานจตุรทิศปางมารวิชัย 4 องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐ์ฐานอยู่ภายใน และมีนาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว...
Read more
เที่ยวเมืองน่าน : วัดพญาวัด
วัดพญาวัดเป็นวัดโบราณทางพุทธศาสนสถาน ผ่านกาลเวลาหลายยุคหลายสมัยจนถึงปัจจุบันพื้นที่ของวัดอยู่ภายในเขต “เวียงวัดพญาวัด” อันเป็นเวียงโบราณริมแม่น้ำน่านที่คงสร้างขึ้นก่อนการสร้างเมืองน่าน เมืองน่านสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1911 (ปีสุดท้ายของรัชกาลพระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา) โดยย้ายเมืองมาจากบริเวณภูเวียงแช่แห้ง (บริเวณวัดพระธาตุแช่แห้งในปัจจุบัน) มาสร้างเมืองใหม่ ณ ริมฝั้งแม่น้ำน่านทางทิศตะวันตก วัดพญาวัดคงสร้างพร้อมกันกับเวียงพญาวัดเมื่อกว่า 600 ปีมาแล้ว ชื่อวัดพญาวัดปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์บางฉบับ เช่น พงศาวดารล้านนาและพงศาวดารเมืองน่าน เป็นต้น แสดงถึงสถานภาพในความเป็นวัดและบทบาทของวัดต่อเนื่องโดยตลอด
สิ่งศักดิ์สิทธ์ภายในวัด พระธาตุจามเทวี เป็นเจติยสถานรูปสี่เหลี่ยม ก่อด้วยอิฐสอดิน ลักษณะสำคัญของเจดีย์องค์นี้คือ มีเรือนธาตะเป็นขั้นลดหลั่นขึ้นไป...
Read more
เที่ยวเมืองน่าน : วัดพญาภู
วัดพญาภู ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๖ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ที่มีความสำคัญของจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวไว้ว่าพระยาภูเข็ง (พญาภู) แห่งราชวงศ์ภูคา ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองเมืองน่าน ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๕๐–๑๙๖๐ ได้สร้างวัดพญาภูขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๖ ต่อมาเจ้าผู้ครองเมืองน่านทุกพระองค์ได้ให้ความอุปถัมภ์วัดพญาภูตลอดมา จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๐๐ พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองเมืองน่าน ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพญาภู เช่น บูรณะพระเจดีย์ซึ่งก่ออิฐถือปูน เป็นเจดีย์โบราณ ขนาดฐานกว้าง ๑๔ เมตร สูง ๒๕ เมตร